ไอศกรีม นั้นมี ประวัติ ที่มายังไงกันนะ

 มาทำความรู้จัก ไอศกรีม กันเถอะว่ามี ประวัติ ยังไงกัน




  ไอศกรีม หรือ ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า ไอติม นั้นกว่าจะมาในรูปแบบปัจจุบันนี้นั้น รู้ไหมว่าของหวานชนิดนี้เดินทางมาไกลมากจากรูปแบบการถูกเรียกในแบบดั้งเดิม โดยริเริ่มเดิมที่ ไอศกรีม เกิดขึ้นในช่วงก่อนการนับคริสต์ศักราชเสียด้วยซ้ำ โดยในสมัยก่อนสิ่งที่เรียกว่าไอติมนั้น คือการนำหิมะมาโกยรวมกันแล้วราดด้วยน้ำหวาน เช่นน้ำผึ้งหรือน้ำผลไม้ เท่านั้นก็เป็นไอติมแล้ว ( นี่มันน้ำแข็งใสชัด ๆ ) โดยภายหลังมีกระบวนการทำที่เพิ่มขึ้นจนวิธีเดียวกันนี้ถูกเรียกว่า เซอร์เบ็ท นั่นเอง


  โดยเมื่อผ่านไปหลายพันปี มีบุคคลชื่อ มาร์โคโปโล พ่อครัวหัวใสจากอิตาลี ได้ลองทำสูตรของไอติมนี้มาดัดแปลงใหม่จากทางฝั่งตะวันออก ได้นำมาเผยแพร่ต่อในฝั่งของตะวันตก และได้กลายเป็นต้นแบบการทำของ   ไอศกรีมในปัจจุบัน 


  ภายหลังช่วงทศวรรษที่ 16 ในแดนอังกฤษก็ได้ใช้คำว่า Cream Ice แทนความหมายของ ผลไม้ที่ถูกนำไปทำเป็นครีมแล้วนำไว้ภายนอกโดยใช้อากาศเย็นจัดจาทำให้เกิดความแข็งตัว ( ก็เพราะว่าสมัยก่อนนั้นยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ตู้เย็นนั่นเอง ) 


ไอศกรีม และการเปลี่ยนแปลง

  ในปี ค.ศ.1660 ได้มีคุณ Sicilian Procopio ได้เปลี่ยนประวัติสูตรการทำไอศกรีม ชุดใหม่ออกมาโดยใช้การผสมของไข่ ครีมนม และ เนย ลงไปผสมลงในไอติม แล้วมีรสชาติที่อร่อยและแปลกใหม่จนขึ้นชื่อเป็นอย่างมาก และได้ทำการวางขายเป็นที่แรก ณ Café Procope ที่แดนปารีสนั้นเอง 


  หลังจากนั้นเองไอศกรีมสูตรนี้ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก เชฟหลายคนก็ได้ทำสูตรไปปรับปรุงไปตามสูตรต่าง ๆ เฉพาะตัวของตนเองอีกมากมาย ทำให้มีความหลากหลายและไม่ตายตัวในรสชาติและเนื้อสัมผัส 


เมื่อ ไอศกรีม เดินทางมาสู่เมืองไทย

  มาแล้วครับพระเอกของเราอย่าง ไอศกรีม ที่ส่งมายังเมืองไทยโดยจุดเริ่มต้นอยู่ในช่วง รัชกาลที่ 5 โดยมาเป็นแพ็คคู่มาพร้อมกับการผลิตน้ำแข็งเลยทีเดียว เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อนคุณก็รู้ และในสมัยก่อนนั้นเมืองไทยยังไม่มีช่องแช่งแข็งเลย แต่ไอศกรีม ในสมัยก่อนในไทยยังถือว่าเรียบง่ายมาก เพราะทำมาจากน่ำหวานหรือน้ำผลไม้แล้วไปทำให้แข็งเพราะตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีส่วนผสมชนิดอื่นมากนัก ถ้าให้พูดให้เห็นภาพก็คือ ไอติมแบบหลอด นั่นเอง (ว้าวว ใครทันกินเหมือนผมบ้าง )


  แต่หลังจากนั้นก็เริ่มมีการพัฒนาสูตรการทำแบบไทยขึ้นมาโดยเริ่มใช้ กะทิ เป็นส่วนผสมแทนนม เกิดเป็น ไอติมกะทิโบราณ นั่นเอง โดยตาม ประวัติ แล้วในสมัยนั้นเริ่มมการขายไอติมโบราณกับรถพ่วงขายในชุมชนในเมืองแล้ว โดยมีส่วนผสมของไข่ กะทิและน้ำตาล แบบตักขาย อัพีะดับจากไอติมหลอดแล้วเชียวนะ จนในที่สุดก็ผ่านการพัฒนามาเป็นไอติมรูปแบบต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมรวมถึงรูปร่างหน้าตาจนเหมือนกับไอติมที่ผู้คนปัจจุบันชื่นชอบ 


ไอศกรีม เป็นหนึ่งในของกินที่เป็นที่นิยมมากในประเทศไทยเพราะเมืองไทยดังเดิมและตลอดไปเป็นเมืองร้อน การหาของเย็น ๆ ทานจึงเป็นเหมือนกันได้ ขึ้นสวรรค์ เลยทีเดียว ทำให้เป็นที่นิยมและขายได้ง่าย สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เองก็สามารถรับประทานได้ และส่วนมากนั้นมีราคาที่ไม่แพง แต่ก็มีรูปแบบที่ต่างกันตามราคาเช่นเดียวกัน ขึ้นกับส่วนผสมและวิธีการทำ 


รู้หรือไม่ ไอศกรีมโคน เกิดขึ้นมาโดยบังเอิญเพราะขายดีเกินไป ?


โคน ที่เราคุ้นเคยเวลารับประทานคู่กับไอติมแบบเดินกิน ที่เป็นทรงกรวยแล้ววางแหมะไอติมลงไป 1 - 2 ลูกนั้นจริงๆเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ มันเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1904 เกิดจากการที่ร้านของนาย เอิร์นเนสต์ แฮมวี ที่วางขายไอศกรีมอยู่ในงาน และได้ทำการขายวอฟเฟิลด้วยคู่กัน แล้วจากการขายไอติมไปสักพักถ้วยสำหรับใส่ไอติมดันหมดสะนี่ เขาเลยปิ๊งไอเดียสุดเด็ดที่จะเปลี่ยน ประวัติ ของไอติมชนิดนี้ไปตลอดการนั่นก็คือ การนำวอฟเฟิลพับเป็นกรวยแล้วใส่ไอติมลงไปแทนถ้วย แล้วเขาได้เรียกมันกับลูกค้าว่า ไอศกรีมโคน ในไม่ช้าก็เป็นที่นิยมจนเริ่มมีการผลิตเครื่องมือในการทำโคนออกมาขาย ออกมาปีละหลาย 100ล้าน ชิ้นต่อปีเชียว


เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกกินจนตายกันเลยทีเดียว ต้องขอบคุณเขาที่สามารถเพิ่มรสชาติให้กับไอศกรีมในรูปแบบใหม่ ที่นอกจากจะคิดสูตรไอติมแล้วยังเพิ่มลูกเล่นกับโคนได้อีก 1 ต่อ เรียกได้ว่าสายทำอาหารที่สนุกกันใหญ่เลยครับในการหาไอเดียมาชนกันเพื่อเรียกยอดขาย 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไมเล่นเกมแล้วต้องด่ากัน

พิซซ่าญี่ปุ่น หรือ โอโคโนมิยากิ(Okonomiyaki) ที่มาเป็นยังไง

ประวัติของ โดรายากิ ขนมสุดโปรดของ โดราเอมอน