เพลงต่างชาติ ฟังไม่ออกแล้วจะทำไม

 

เพลงต่างชาติ ฟังไม่ออกแล้วจะทำไม

  เพลงต่างชาติ จะเพลงสากลหรือเพลงเกาหลีญี่ปุ่นก็แล้วแต่ ล้วนเป็นความชอบส่วนบุคคลทั้งนั้น แต่ก็ต้องมีบ้างเมื่อเราอยู่ในสังคมหรือกับกลุ่มเพื่อนหรือคนรอบตัว และบางคนอาจจะทักประโยคชวนหงุดหงิดขึ้นมาได้ว่า ฟังไปทำไมเพลงต่างชาติ ฟังไปก็ไม่รู้เรื่อง ซึ่งเป็นประโยคชวนหัวร้อนนิด ๆ ด้วยเหตุผลสองอย่าง คือหนึ่ง ไม่ได้ฟังออกหรอก แต่เพลงมันเพราะดี กับสองคือ ฟังออกก็เลยฟังไง แถมยังเพราะซะด้วย ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือเรื่องของรสนิยมการเสพสื่อทั้งนั้น วันนี้เราอยากมาชวนคุยกันเกี่ยวกับการฟังเพลงต่างชาติ มาคุยกันด้วยเหตุผลกันว่าถ้าไม่เถียงแบบตรง ๆ ไปแบบนั้น มีเหตุผลอะไรบ้างที่จริง ๆ แล้ว เราน่าจะชวนเขามาฟังเพลงต่างชาติแบบพวกเรากันบ้าง

เพลงต่างชาติ เพราะฟังออกไงก็เลยชอบ

  อยากแรกก่อนเลยคือ เพราะเราฟังออกนั่นแหละ เราถึงได้ชอบฟังเพลงต่างชาติ แม้ว่าคนอื่นที่เป็นคนไทยด้วยกันจะมาล้อเราว่าทำไมเราต้องฟังเพลงต่างชาติด้วย ฟังไม่ออกไม่ใช่หรือไง ประเด็นคือมันมีคนที่ฟังออกไง แล้วก็รู้สึกชอบด้วย แม้ว่าจริง ๆ แล้วเพลงต่างชาติอย่างฝั่งเพลงสากล มักจะเป็นเนื้อเพลงที่ความหมายไม่ได้ลึกซึ้งมากนัก ซึ่งให้พูดกันตรง ๆ อยากจะบอกว่า เพลงสากลนี่แหละที่เนื้อร้องเหมือนไม่ได้มีเนื้อหาเนื้อความอะไรเลย ในหลาย ๆ เพลงนะ แต่ในหลาย ๆ เพลงที่เนื้อหาดีหรือความหมายมันก็กินใจดีเหลือเกิน นั่นคือหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เราชอบฟังเพลงสากลกัน

  ผลพลอยได้อีกอย่างจากการที่เราชื่นชอบฟังเพลงต่างชาติอย่างเพลงสากลกัน ก็คือการที่เราได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปในตัวอีกด้วย เพราะการเรียนในห้องเรียนอาจจะยังไม่มากพอที่ทำให้เราเข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นมากขึ้น การได้เข้าถึงภาษาในระดับที่เขาใช้กันเป็นปกติอย่างการฟังเพลงก็ช่วยได้เยอะ ช่วงแรกที่เราฟังเพลง เราอาจจะยังไม่รู้เนื้อเพลงขนาดนั้น หรืออาจจะยังฟังไม่ออก จนกระทั่งเราได้ลองเข้าไปหาเนื้อเพลงในเว็บ หรือเปิดเพลงแบบมีเนื้อร้องในยูทูป เราก็จะได้เห็นคำหรือประโยคที่ใช้กันในเพลง ได้เรียนรู้ทั้งไวยากรณ์ และได้สัมผัสกับคำศัทพ์ที่เขาใช้กัน บางเพลงอาจจะใช้คำทั่วไป ซึ่งก็มากพอให้เราได้จดจำหรือเรียนรู้เพื่อใช้งาน และบางครั้งเราจะได้เจอคำศัพท์ที่ใช้เสริมลีลาในการใช้ภาษาของเรามากขึ้นอีกด้วย

  สำหรับเพลงต่างชาติอย่างเพลงญี่ปุ่นหรือเกาหลีก็เช่นเดียวกัน เพราะภาษาคือสิ่งที่เรียนรู้ในห้องอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ และเรายังหาคอนเทนท์ในยูทูปที่การสอนภาษาจากเพลงดัง ๆ ให้ฟังกันอีกด้วย นับเป็นการเรียนรู้ที่ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพ เพราะเราคงจะอยากเรียนอะไรสักอย่างให้มันสนุก มากกว่าการต้องมานั่งฟังหรือนั่งเรียนแบบอ่าน ๆ เขียน ๆ กันอยู่แล้ว และยิ่งเพลงเกาหลีหรือญี่ปุ่นที่มีไวยากรณ์ที่ยากในระดับต้น ๆ ของโลก เมื่อเราได้มีโอกาศได้มองมันในเวอร์ชั่นที่สนุกขึ้น มันอาจจะช่วยด้านการเรียนรู้ของเราได้มากขึ้นสำหรับคนที่ฟังเพลงในภาษานั้น ๆ 


เพลงต่างชาติ ให้อารมณ์ในการฟังที่แตกต่าง

  เคยมีคนพูดเอาไว้ว่า ภาษาที่เข้าใจง่ายที่สุดบนโลกนี้ คือภาษาของเพลง เพราะเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของมัน เราก็รู้สึกไปกับมันได้ เพลงนี้เป็นเพลงแจ๊ส ให้อารมณ์ฟังสบาย ๆ เพลงนั้นเป็นเพลงร็อค เน้นฟังมัน ๆ เอาสะใจ หรือเพลงป็อปก็ฟังแล้วโยกหัวหรือเต้นตามได้ แม้ว่าเราจะไม่ได้เข้าใจความหมายของมัน แต่แค่เราสัมผัสความรู้สึกในดนตรีได้ มันก็เพียงพอแล้วที่เราจะเอนจอยกับเพลงได้ใช่ไหมล่ะ 

  

  การที่เราฟังเพลงของชาติอื่น เป็นรสนิยมส่วนตัวของผู้ฟัง ถ้าจะหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาพูด คงต้องพูดลงลึกไปในระดับระบบประสาทไม่ก็ในดีเอ็นเอของคนเรา ซึ่งเราคงไม่ต้องไปพูดถึงขนาดนั้น แต่เพลงหรือดนตรีของแต่ละประเภทมันให้ความแตกต่างในหลาย ๆ เรื่อง จริง ๆ ศาสตร์ของดนตรีเป็นอะไรที่ให้เราได้คุยกันได้อีกเยอะสำหรับผู้ที่สนใจ แต่ลองมาพูดง่าย ๆ ก็คือเรื่องของเสียงจากเครื่องดนตรี และแนวการประพันธ์ที่เป็นลายเซ็นของประเทศนั้น ๆ ก็เหมือนกับที่เราชอบเพลงไทย เรารู้สึกทั้งจากดนตรีแล้วจากเนื้อเพลงได้ว่ามันเพราะหรือมันเข้าหูเราจัง เราเลยชอบฟังมันซ้ำ ๆ ซึ่งมันก็เป็นแค่ความชอบนั่นแหละ เป็นเรื่องของความรู้สึกที่ไม่ต้องไปหาเหตุผลอะไรให้มัน แนวเพลงที่คนอื่นฟังก็เช่นกัน ไม่ต้องเสียเวลาไปบอกว่าความชอบของคนอื่นมันแปลกหรอก
  การที่เรารู้สึกว่าคนรอบตัวไม่ได้ทำอะไรที่มันเหมือนกับเรา ไม่ผิดที่คุณจะรู้สึกว่ามันแปลกหรือแตกต่าง แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ต้องทำให้คุณไปบอกใครว่ารสนิยมของเขามันแปลก เขาแค่ไม่ได้ชอบเหมือนกับที่เราชอบแค่นั้นเอง กับจริง ๆ แล้ว คนเราควรแตกต่างกันมากกว่านี้ เพราะความแตกต่าง จะช่วยปิดช่องโหว่ให้กับช่องว่างของคน ถ้าทุกคนทำอะไรเหมือนกันไปหมด มันก็จะไม่มีทางใหม่ ๆ ให้คนเราได้เดินไปซักที เพราะงั้นถ้าคุณเจอใครฟังเพลงแปลก ๆ หรือเพลงต่างชาติที่คุณฟังไม่ออก ลองสลัดความคิดนั้นทิ้งไป แล้วลองไปฟังเอาอารมณ์เข้าว่าอย่างเดียวดูบ้าง ไม่แน่คุณอาจจะได้รสนิยมใหม่ที่ถูกใจคุณกว่าเดิมก็ได้


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พิซซ่าญี่ปุ่น หรือ โอโคโนมิยากิ(Okonomiyaki) ที่มาเป็นยังไง

ประวัติของ โดรายากิ ขนมสุดโปรดของ โดราเอมอน

ขนมปัง ประวัติและที่มา การกำเนิดของเบเกอรี่