ดังโงะ 団子 ความเป็นมาของขนมเสียบไม้ของชาวญี่ปุ่น

 

ทุกคนรู้จัก ขนมดังโงะ (Dango) กันไหมครับ เจ้าขนมแป้งทรงกลม ๆ เสียบไม้ ราดซอสสีน้ำตาล ๆ นั่นแหละครับเราอาจจะเคยเห็นมาบ้างหากดู ซีรี่ย์ญี่ปุ่น อนิเมะ หรือภาพยนต์ เพราะเป็นขนมพื้นบ้านของทางนั้น เราอาจจะเห็นเป็นก้อน ๆ สามสีบ้าง เห็นเป็นสีเดียวบ้าง มักจะกินคู่กับน้ำชาในฉากสบาย ๆ อยู่เสมอ แต่ว่ามันไม่ใช่ลูกชิ้นนะครับแต่ทำมาจาก แป้ง! วันนี้เรามาทำความรู้จักเจ้าขนมชนิดนี้อย่าง ดังโงะ กันนะครับ ว่าถือเป็นของดีของประเทศญี่ปุ่นหรือเปล่านะ 


ทำความรู้จักกับ ขนมดังโงะ (Dango)


ขนมดังโงะนั้นอยู่คู่กับชาวญี่ปุ่นมาเป็นหลักร้อยกว่าปีมาแล้ว แถมยังเป็นการบ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมของญี่ปุ่นที่สถ้อนออกมาในขนมชนิดนี้ โดยหลายคนอาจจะเข้าใจว่า ดังโงะ กับ โมจิ เป็นอันเดียวกันแต่จริง ๆ แล้วมันไม่เหมือนกันนะครับ เพราะ ขนมดังโงะ นั้นใช่ส่วนผสมที่แตกต่างกันกับโมจิ นะเออ


สำหรับดังโงะแล้วมีส่วนผสมมาจากแป้งข้าวเจ้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น โดยมีวิธีการทำหลัก ๆ 2 แบบครับนั่นก็คือ

1.การนึ่งดังโงะ แน่นอนว่าส่วนผสมหลักก็แป้งเข้าเจ้า หรือในบางสูตรอาจจะทำการผสมแป้งข้าวเหนียวลงไปด้วย หรือในบางสูตรก็อาจจะใส่แป้งชิระทะมะโกะ เสริมเข้าไป โดยจะทำให้ตัวแป้งนั้นมีความเหนียวมากขึ้นง่ายต่อการนำไปเสียบไม้ การนึ่งนั้นใช้เวลาประมาณ 30 - 60 นาทีครับ 

2.การต้มดังโงะ  เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเลือกปรุงดังโงะให้สุก โดยเริ่มจากการนำส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียนอบพิเศษ รวมเข้าด้วยกัน ครึ่งต่อครึ่ง เพื่อทำให้ตัวของขนมดังโงะนั้นมีความนิ่มนวลและชุ่มฉ่ำมากกว่ารูปแบบการนึ่ง และไม่ต้องผ่านการย่างไฟอีกต่อแถมยังเร็วกว่าอีกด้วยโดยต้มเพียงแค่ 5 นาที เท่านั้นเอง



ประวัติของ ขนมดังโงะ (Dango)


ตัวขนมดังโงะนั่น จริง ๆ แล้วหมายถึง การนำขนมที่เกิดจากการนำเอาแป้ง ผสมกับน้ำ หรือ น้ำร้อน นวดเข้าด้วยกัน แล้วนพไปนึ่งหรือลวกในน้ำร้อนเพื่อให้คงรูปทรง ในญี่ปุ่นสมัยก่อนนั้นนิยมใช้ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ที่เอามาหุงรับประทานเป็นเมล็ดไม่ได้ก็จะนำไปทำเป็นแป้งจากนั้นจึงนำไปผสมน้ำแล้วนวด แล้วเอาไปปิ้งหรือต้ม กินกันเป็นอาหารหลักรองจากข้าวสวย มีความเชื่อว่าดังโงะ (団子) มีให้เห็นในหน้าประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคเฮอันในฉบับนิยายของ ชินซารุงาคุกิ 


ในเวลาต่อมาได้มีผู้คนถูกส่งไปยังเมืองถัง (ที่ประเทศจีน) ก็ได้นำขนมชนิดหนึ่งกลับมาที่มีชื่อเรียกว่า ดังกิ พอคนญี่ปุ่นเห็นเข้า ก็เริ่มนำมาลองเสียบไม้ กันแล้วนำไปปรุงจนเริ่มมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับปัจจุบัน โดยขนมดังโงะนั้นในสมัยก่อนถือว่าเป็นของว่าง หรือของทานเล่นของขุนนางและชนชั้นสูง ในสมัยก่อนแป้งข้าวเจ้าไม่ได้หามาได้ง่าย ๆ ส่วนผสมของการทำดังโงะ ในสมัยนั้นจึงมีการใช้ทั้ง ข้าวบาเลย์, ข้าวสาลี,ข้าวโพด, มันหวาน จนไปถึงเกาลัด (จะทำกินให้ได้เลยเชียว) จนทำห้ในปัจจุบันเราจะพบเห็นขนมดังโงะนั้นมีหลากหลายสูตรการทำขึ้นกับแต่ละพื้นที่ 


ขนมดังโงะ (Dango) เป็นขนมแห่งเทศกาล


ตัวของขนมดังโงะ ไม่ได้เป็นเพียงขนมหรืออาหารที่เอาไว้ทานเพื่ออิ่มท้องอีกต่อไปแล้ว ในสมัยนี้นั้นขนมชนิดนี้ก็ถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาของญี่ปุ่น ในการบูชาเทพเจ้า ตามความเชื่อของเขาอีกด้วย ทำให้มีบางตำนานถูกเล่ากันว่าขนมดังโงะนั้นมีต้นกำเนิดมาจากร้านน้ำชาเล็ก ๆ ร้านหนึ่งในเมืองเกียวโตมีนามว่า Kamo mitarashi ที่ตั้งอยู่ติดกับศาลเจ้าอย่าง Shimogamo โดยมีการทำขนมให้มีรูปทรงคล้ายกับฟองน้ำที่เกิดจากน้ำบริสุทธิ์ที่หน้าทางเข้าของศาลเจ้า


โดยการนำขนมชนิดนี้มาบูชาเพื่อใช้เป็นตัวแทนของผู้คนใน 1 ไม้จะมีอยู่ทั้งหมด 5 ลูก แต่ละลูกมีความหมายเป็นของตนเองเช่น ลูกบนสุดคือศีรษะ ลูกที่สองและสามคือตัวแทนของแขน  สองลูกสุดท้ายก็คือตัวแทนของขา นั่นเอง โดยสีดั่งเดิมของขนมขนนิดนี้ก็คือ สีแดง สีขาว และสีเขียว



นอกจากนี้ขนมชนิดนี้ยังนำไปจำหน่ายหรือเป็นความเชื่อที่ผู้คนนิยมรับประทานในเทศกาลสำคัญ ๆ ของญี่ปุ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เทศกาลชมดอกซากุระ เทศกาลไหว้พระจัทร์ โดยจะมีสูตรการทำและหน้าตาที่ต่างออกไปจากดังโงะแบบปกติอีกด้วยนะ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติของ โดรายากิ ขนมสุดโปรดของ โดราเอมอน

ทำไมเล่นเกมแล้วต้องด่ากัน

งานศิลปะ ไม่จำเป็นกับชีวิตจริงเหรอ