ความเสี่ยง ไม่น่ากลัวขนาดนั้น

 

ความเสี่ยง ไม่น่ากลัวขนาดนั้น

  

  ความเสี่ยง จากการลงทุนอะไรก็ตาม เรามักจะเจอในเอกสารเขียนไว้เน้น ๆ ตลอด ๆ ว่า “การลงทุนมี ความเสี่ยง ควรศึกษาให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจ” ได้ยินมาตลอดตั้งแต่การลงทุนในกองทุนอะไรสักอย่าง ไม่ก็ในการซื้อขายหุ้น และยิ่งเดี๋ยวนี้มีเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ให้มาลองสัมผัสกันแล้วด้วย ทุกครั้งที่ฟังหรืออ่านประโยคแบบนี้ก็จะรู้สึกว่าไม่กล้าเอาเงินไปทำอะไรเลย รู้สึกเหมือนเงินเราเสี่ยงที่จะหายแน่ ๆ ยังไงยังงั้น วันนี้เราอยากมาคุยกันเรื่อง “ความเสี่ยง” และคำแนะนำเรื่องนี้กัน เกี่ยวกับเหตุผล แนวคิด หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้รู้สึกว่า จริง ๆ แล้วประโยคนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวอะไรขนาดนั้น

  

ความเสี่ยง จริง ๆ มีอยู่ทุกที่ทุกเวลา

  รู้หรือไม่ ต่อให้เป็นเรื่องการลงทุนหรือไม่ก็ตาม ชีวิตเรามันก็เสี่ยงอยู่ตลอดเวลากันอยู่แล้ว จริง ๆ เรากินความเสี่ยงเป็นอาหารเช้ากันซะด้วยซ้ำ เราเจอแบคทีเรียหรือเชื้อโรคอะไรบ้างผ่านอาหารที่เรากินเข้าไป หรือช่วงนี้มีข่าวโควิด เราเอามือไปโดนอะไรมาบ้าง แล้วเอามือมาแตะบนใบหน้า มีกี่อย่างแล้วที่ไหลเข้าไปในร่างกายเรา เราขับรถไปทำงานทุกเช้า เราก็อยู่กับถนนและรถที่มีการสุ่มเหตุการณ์กันอยู่ตลอด ถ้าไม่ใช่เราที่ไปชนเขา ก็เป็นเพราะเขามาชนเรา หรือเอาใกล้ตัวที่สุด คำพูดคำจาของเรา วัน ๆ มันจะไปกระทบหูใครในทางที่ไม่ดีบ้างหรือเปล่าเราก็ไม่รู้ เราอยู่กับความเสี่ยงในระดับการหายใจด้วยซ้ำ รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วคนเราตายทุก ๆ 4 นาที แต่เพราะเราหายใจ เราจึงรอดมาได้ ความเสี่ยงคือเรื่องที่เรารับมือได้อยู่แล้วในทุก ๆ วัน เพราะฉะนั้นอย่าได้กลัวเลยเวลาเราจะทำอะไรก็ตาม ตราบใดก็ตามที่เรามีแผนรับมือกับมัน หรือมีวิธีที่ต่อให้เราจะต้องกระโดดไปโดนความเสี่ยงนั้น ถ้าเรามีแผนป้องกันหรือรับมือก็ไม่มีปัญหา 


ทำไม ทุกการลุงทุนจึงมี “ความเสี่ยง”

  ในความเป็นจริง การลงทุนทุกอย่างแม้จะเป็นการฝากเงินธนาคารก็มีเหมือนกัน เพียงแต่มันน้อยนิดมาก ๆ เพราะเงินเราที่ฝากธนาคารจะหายไปหรือไม่มีค่าก็เมื่อธนาคารนั้นถูกปล้น สถาบันการเงินล่ม หรือประเทศเราเจอเหตุไม่คาดฝันที่ทำให้เงินเราหมดคุณค่า แต่ถามว่าเหตุการณ์ที่จะเกิดอะไรใหญ่ ๆ แบบนั้นมันมีหรือเปล่า มันก็มี แต่มันน้อยซะจนแทบเป็นไปไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า ความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงน้อยก็มักจะตามมากับคำว่า ผลตอบแทนที่น้อยไปด้วย สำหรับคนที่อยากทำเงินแล้ว การฝากเงินเฉย ๆ อาจจะไม่ช่วยให้เรามีเงินที่เยอะขึ้น ยกเว้นคุณจะฝากเงินที่เป็นก้อนที่ใหญ่มาก ๆ จนผลตอบแทนที่ได้นั้นมากพอที่จะทำให้เราอยู่สบาย ๆ แบบรายเดือนได้ นั่นคือเหตุผลให้เรามีอาชีพหรือวิธีทำเงินที่มีความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูงตามมา 

  ความเสี่ยงระดับกลางเช่นการเล่นกองทุนต่าง ๆ คือการนำเงินไปให้กับคนที่มีความรู้ พร้อมที่จะเอาเงินของเราไปเจอความเสี่ยงแล้วชิงผลตอบแทนกลับมาให้เราได้ เมื่อเราที่มีแต่เงิน แต่ไม่มีวิธีการทำเงิน มาเจอกับคนที่ไม่มีเงิน แต่มีความสามารถ การนำไปลงในกองทุนจึงเกิดขึ้นมา สิ่งที่ทำให้มันมีความเสี่ยงปานกลางหรือสูงก็คือ เราเสี่ยงน้อยลงจากการที่มอบเงินนั้นให้กับคนมีความรู้ความสามารถจริง แต่ในโลกการเงินการลงทุนมีโอกาศที่ธุรกิจหรือวิธีทำเงินนั้น ๆ จะพลาดได้จากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน นั่นคือความเสี่ยงระดับกลางที่เราต้องตัดสินใจ

  ความเสี่ยงระดับสูง คืออะไรที่ทำให้เงินเราหายได้ง่ายและไวมาก ๆ เช่นการเล่นหุ้นหรืออะไรก็ตามด้วยตัวเอง มันจะเสี่ยงสูงก็ด้วยสองอย่าง หนึ่งคือความรู้ของเราที่รู้จริงหรือเปล่า กับ เหตุการณ์ด้านการณ์เงินที่มันผันผวนตลอดเวลา สำหรับคนไม่มีความรู้เรื่องนี่มากนัก พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า เราน่าจะเคยดูข่าวในทีวี แล้วมีคนรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลกว่าเกิดอย่างนั้นอย่างนี้ ส่งผลให้ตลาดนั้นเคลื่อนที่ขึ้นลงกี่จุด ซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ แบบนั้น ก็เป็นอะไรที่คนตัวเล็ก ๆ แบบเราไม่สามารถทำให้มันเคลื่อนที่แบบที่ต้องการได้ มีเพียงการวิเคราะห์หรือคาดการณ์เท่านั้น 


แล้วจะรับมือกับความเสี่ยงยังไงดี

   ความเสี่ยงที่ทำเราเจ็บปวดได้ มักเป็นความเสี่ยงที่เราไม่มีแผนรับมือ เช่น เรานำเงินไปลงทุน แต่เป็นส่วนที่ไม่ใช่เงินเย็น หรือเงินที่เราต้องใช้กินใช้อยู่ทุกวัน พอเราเสียเงินที มันจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ลำบากลงไปอีก เขาจึงมีนำแนะนำให้เราใช้เงินที่ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่มาใช้เท่านั้น แต่ถ้าคุณบริหารเงินเป็นหรือรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ก็ไม่เป็นไร อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงแต่เงินในบัญชีเท่านั้นที่จะหายไป สิ่งที่กระทบกับเราจริง ๆ มักจะเป็นความรู้สึกซะมากกว่า ความรู้สึกโลภและกลัว เมื่อเราได้ เราจะอยากได้อีก เมื่อเราเสีย เราจะกลัวเสียมากกว่านี้ การเล่นหุ้นหรืออะไรแบบนี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่องของสถิติ แต่จริง ๆ แล้วเกี่ยวกับอารมณ์ของคนพอสมควร วิธีที่เราอยากแนะนำเกี่ยวกับการรับมือความเสี่ยงตรงนี้ คือการที่เรารู้ว่า สูญเสียแค่ไหนที่ทำให้ใจเราไม่บอบช้ำ การเตรียมใจที่จะเสียเงินเป็นเรื่องสำคัญและมีผลจริง ๆ เรารับได้ไหมถ้าเงินจำนวนนี้ของเราจะหายไป แทนการที่จะได้เอาเงินก้อนนี้ไปเที่ยวหรือซื้อสิ่งของที่อยากได้ เรามีจิตวิทยาอะไรไหมที่ช่วยให้เรามีไมนด์เซ็ตที่ดี ซึ่งเรื่องนี้เราสามารถหาซื้อหนังสือมาอ่านหรือดูวีดีโอในยูทูปก็ได้ มีนักลงทุนหลายคนที่ยินดีจะแชร์ความรู้และประสบการณ์แบบนี้ให้กับเราอยู่แล้ว และบอกเลยว่าการบริหารความเสี่ยงหรือการบริหารความเสี่ยงจะเป็นหัวข้อที่เราจะได้ยินจนหูชาตาชาได้เลยเวลาเราได้เข้าไปดูหรืออ่านบทความแบบนี้ 

  วิธีคิดที่ง่ายที่สุดที่เราอยากแนะนำคือ คิดซะว่าเงินก้อนนี้ที่เราจะลงทุน มันคือเงินบริจาคหรือเป็นเงินซื้อประสบการณ์หรือคอร์สเรียนก็แล้วกัน ถ้าไม่ได้เงินคืนกลับมา อย่างน้อยก็ได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดมาแทน อย่าได้กลัวที่จะเสียเงินเลย กลัวที่จะไม่ได้เสียเงินแล้วไม่ได้ลองน่าจะดีกว่า ถ้าอยากลองมาแตะ ๆ หรือสัมผัสประสบการณ์ที่โดนความเสี่ยงเล่นงาน แต่ไม่ให้เจ็บมากไป แค่พอให้เป็นประสบการณ์หรือภูมิต้านทานก็พอ เราแนะนำว่าอาจจะเริ่มจากเงินก้อนเล็ก ๆ อาจจะห้าร้อยบาทก็ได้ ลองไปเสี่ยงกับอะไรที่ให้เราเรียนรู้ได้ง่าย ๆ ก่อนอย่างคริปโตเคอเรนซี่ก็ได้ เพราะเป็นอะไรที่ใช้เงินจำนวนน้อย ๆ ทำได้ ซื้อเหรียญมาสักตระกูลด้วยเงินห้าร้อยบาท แล้วลองทำตามแผนหรืออะไรก็ตามที่เราเตรียมตัวมา แล้วลองสัมผัสประสบการณ์ตรงนั้น เผื่อมันจะให้บทเรียนอะไรกับเรา และแน่นอนว่าถ้าเราจะเสียเงิน มันก็เป็นจำนวนที่น่าจะไม่ทำเราเจ็บใจขนาดนั้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทำไมเล่นเกมแล้วต้องด่ากัน

พิซซ่าญี่ปุ่น หรือ โอโคโนมิยากิ(Okonomiyaki) ที่มาเป็นยังไง

ประวัติของ โดรายากิ ขนมสุดโปรดของ โดราเอมอน